How to : วางแผนการเงินส่วนบุคคล ขั้นเทพ!

วางแผนการเงินส่วนบุคคล

วางแผนการเงินส่วนบุคคล
วางแผนการเงินส่วนบุคคล

สภาพคล่องดี

จุดเริ่มต้นที่สําคัญของสุขภาพการเงินดี บริหารการเงินให้มีเหลือกิน เหลือใช้ เหลือเก็บ อย่างน้อย 10%-20% ของรายได้แต่ละเดือน
เคล็ดลับ : ควรเป็นการออมก่อนจ่าย ทุกคนสามารถทำได้ เช่น การออมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือการออมทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์

ปลอดหนี้จน

ไม่มี “หนี้จน” เป็นลาภอันประเสริฐ รู้วิธีประเมินตนก่อนสร้างหนี้ก้อนใหญ่และ หลักการเคลียร์หนี้ออกจากบัญชี
เคล็ดลับ : หนี้จน คือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น หนี้รถยนต์ที่ไม่ได้ซื้อมาเพื่อหาเงิน หรือหนี้บริโภคที่เกิดจากความต้องการ มิใช่ความจำเป็น

พร้อมชนความเสี่ยง

เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน รู้วิธีรับมือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมาทําลายความมั่นคงทางการเงิน
เคล็ดลับ : การกระจายความเสี่ยงในส่วนนี้ เช่น การทำประกันสุขภาพ การทำประกันชีวิต

มีเสบียงสํารอง

ต่อให้ตกงานกะทันหัน หรือเจอวิกฤต จนสูญเสียรายได้ ชีวิตก็ไม่มีสะดุด! แค่รู้วิธีเก็บเงินสํารองไว้อย่างน้อย 6 เดือน
เคล็ดลับ : การเก็บเงินสดสำรองฉุกเฉิน 6 เดือน อาจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้ารู้ วิธีเก็บเงิน 1 แสนบาทภายใน 1 ปี

สอดคล้องเกณฑ์ภาษี

เรียนรู้วิธีวางแผนภาษีและใช้สิทธิ์ลดหย่อนต่างๆ ได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด เลิกหลอนสรรพากร

เคล็ดลับ : ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องภาษีได้ที่ Taxbugnoms

บั้นปลายมีทุนเกษียณ

ไม่ว่าจะฝันอะไรไว้ ในบั้นปลายชีวิต ยังต้องใช้เงิน เริ่มต้นวางเป้าหมายเงินเกษียณที่ตัวเองต้องการตั้งแต่วันนี้ และรู้วิธีลงมือให้เป้าหมายสําเร็จ
เคล็ดลับ : เรื่องนี้คุยกันยาวและมีวิธีการหลากหลาย โดยควรตั้งโจทย์ก่อนว่า ต้องการใช้เงินเดือนละเท่าไรในวัยเกษียณ แล้ววิธีการจะตามมาเองจากเงินต้นหรือทุนที่เราสะสมไว้มาตลอดชีวิต

ขอขอบคุณแนวคิดจาก : The Money Coach