จากงานเสวนา อนาคตของภัยมืดจากอินเทอร์เน็ตและอาชญากรรมไซเบอร์ที่ทุกคนควรรู้ในมุมมอง ของผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ ได้เผยข้อมูลว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา cyber crime เป็นภัยทางอินเทอร์เน็ตอันดับต้นๆ โดยเฉพาะการหลอกลวง ฉ้อโกงจากการใช้บริการออนไลน์
เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ที่มีความรู้ด้านการแฮก เกือบทั้งหมด ก็นำความรู้นี้ไปใช้ในทางด้านลบ และยังมีส่วนน้อยมาก ที่นำความรู้นี้มาใช้ในการช่วยออกแบบระบบป้องกัน โดนเฉพาะปัญหาเดือดร้อนจากวิกฤตเศรษฐกิจ เลยเริ่มที่จะหาเงินใช้ด้วยการเจาะระบบของธนาคาร ซึ่งล่าสุดสามารถเจาะการเข้ารหัสแบบ SSL ได้แล้ว ดังนั้นทางสถาบันการเงินที่ให้บริการธุรกรรมการเงินออนไลน์ จึงจำเป็นต้องมีระบบป้องกันอีกชั้น รองรับ เช่น One Time Password (OTP) ที่จะต้องกรอกรหัสที่หลังจากระบุชื่อผู้ใช้แล้ว ธนาคารจะส่งโค้ดลับผ่านทาง SMS บนมือถือคุณ ให้คุณนำหมายเลขใน SMS มากรอกที่เว็บเพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของบัญชีอีก
ในส่วนของผู้ใช้สื่อสังคม (Social Network) ต้องระวังด้วย หากไม่มีสติในการใช้งาน ก็จะมีโอกาสพลาดอย่างมากจากการโพสต์หรือทวีต เพราะ บริษัทต่างๆ เริ่มตรวจสอบประวัติของคุณบน facebook , twitter, linkedin ด้วย ซึ่งถ้าเราไปโพสต์ข้อความอะไรไม่ดีไว้ ก็อาจถูกปฎิเสธไม่รับเข้าทำงานได้เช่นกัน หรือ อาจกระทบการงาน จนต้องลาออก ดังเช่นกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นกับ แอร์โฮสเตส ที่โพสต์ข้อความใน facebook ส่วนตัว เป็นต้น
อีกภัยใกล้ตัวสำหรับกลุ่มคนทำงาน ที่ทั้งเจ้าของบริษัท หรือองค์กรต่างๆ ต้องระมัดระวัง คือเรื่องข้อมูลเอกสารต่างๆของบริษัท เพราะทั้งผู้บริหารและพนักงาน มักจะนำสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของตัวเองมาใช้ในการทำงาน และมีการเก็บข้อมูลสำคัญของบริษัทเอาไว้ในอุปกรณ์เหล่านี้! ซึ่งบางคนก็ยังเก็บไว้บน Cloud Services ต่างๆ เช่น iCloud Dropbox, SkyDrive Google Drive เป็นต้น ทีนี้ถ้าชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของบริการเหล่านี้ถูกแฮค หรือตัวอุปกรณ์ไอทีโดนขโมย หรือลืมไว้แล้วหายไป ข้อมูลสำคัญของบริษัท ก็อาจถูกเปิดเผยไปด้วยได้ และ ถ้าพนักงาน ตั้งรหัสผ่านที่อ่อนแอเกินไปจนเดาได้ง่าย ยิ่งอันตรายมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น องค์กรต่างๆก็ต้องทำความเข้าใจระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ในเรื่องการปฏิบัติงานและความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
ที่มา : http://www.it24hrs.com/2012/cyber-crime/